กินแบบคนมีบุญ

          ในสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ บิดาของมหาอำมาตย์หลี่ปู้เหว่ยได้สอนวิธีเรียกว่ากฏของผู้ยิ่งใหญ่และกฏของคนถ่อยไว้ได้น่าสนใจมาก
กฏของผู้ยิ่งใหญ่ คือ ขยัน ฉลาด กล้าหาญ ตั้งใจ
กฏของคนถ่อย   คือ อยากกิน อยากรวย อยากดัง และอยากสมสู่
หลี่ปู้เหว่ยได้ทำตามและสามารถตั้งตัวจากพ่อค้าจนได้เป็นใหญ่สูงสุดรองจากองค์ฮ่องเต้ ช่วยรัฐฉินสร้างชาติให้เจริญรุ่งเรือง เข้มแข็ง วางรากฐานรัฐฉิน เรียบเรียงตำรา หลี่ซื่อชุนชิว ซึ่งเป็นตำราเล่มแรกที่ได้รวบรวมทุกศาสตร์ จนจิ๋นซีฮ่องเต้สามารถรวบรวมรัฐต่าง ๆ จนเป็นเอกภาพสร้างชาติจีนขึ้นมาได้ สร้างประวัติศาสตร์และปฏิมากรรมกำแพงเมืองจีนที่ยิ่งใหญ่ 
           คนขยันไปอยู่ที่ไหนใครก็รัก คนฉลาดย่อมมีแต่ผู้นับถือ คนกล้าหาญศัตรูย่อมเกรงกลัว ส่วนคนที่ตั้งใจ แม้ประสบภัยก็สามารถชนะได้ แล้วบ้านเมืองเราหละผู้นำของเราใช้กฏไหนอยู่นะทำไมถึงรู้สึกว่าประเทศไทยเราเหมือนกำลังไต่ขึ้นหน้าผา มีความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา ทางข้างหน้ายิ่งมืดมนพูดแล้วเศร้า  ทีนี้เรามาว่าเรื่องของความเป็นคนทั่วไปดีกว่า ความต้องการของคนทั่วไปคือ กิน กาม เกียรติ วันนี้จะคุยเรื่องกิน การกินต้องกินเป็น กินให้เป็นเทวดา กินให้พ้นทุกข์ หรือจะกินให้ถึงนิพพานไปเลย เรียกว่ากินให้ได้บุญ กินยังไง
             หลายคนบอกว่าการกินเจ การกินมังสวิรัติ เป็นการทำบุญอย่างหนึ่งก็ขอบอกว่าถูกทีเดียวแต่ไม่ถูกทั้งหมด สมัยพุทธกาลพระเทวทัศได้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าบัญญัติกฏข้อห้ามของพระสงฆ์มีอยู่ข้อหนึ่งคือห้ามภิกษุฉันเนื้อสัตว์ พระพุทธเจ้าทรงห้ามแล้วตรัสว่าภิกษุต้องเป็นผู้ สงบ เรียบง่าย อยู่ง่ายกินง่าย ไม่เป็นภาระของชาวบ้าน ถ้าจะให้มาเลือกกิน ไม่กิน ก็จะทำให้เป็นภาระของชาวบ้านต้องมาทำอาหารแยกต่างหากก็จะเกิดความวุ่นวายใจ เมื่อความวุ่นวายเกิดขึ้น อารมณ์ก็ขุ่นมัว บุญก็ไม่เต็มร้อย แต่นั่นก็เป็นเรื่องของพระผู้ถือบวช แล้วชาวบ้านอย่างเราก็ต้องบอกว่าถ้าเราเป็นชาวพุทธก็ต้องถือตามพระพุทธเจ้าเป็นหลักไว้ก่อน คือต้องเป็นผู้อยู่ง่ายกินง่าย ที่ว่ากินเจหรือมังสวิรัติไม่ถูกทั้งหมดก็เพราะถ้าเราถือเอาตามบัญญัติหรือกฏมาเป็นเกณฑ์ในการวัด คนเราก็ใช้แค่ศีลห้า ก็พอ ในศีลห้าไม่มีหมวดห้ามกิน มีแต่ห้ามฆ่าและก็มาเป็นข้อสำคัญข้อแรก เพราะเป็นเหตุ พระพุทธเจ้าตรัสที่เหตุแล้วดับที่เหตุ ส่วนการกินเป็นผล พุทธองค์จึงตรัสห้ามที่เหตุคือห้ามฆ่าสัตว์ เมื่อไม่เกิดการฆ่า การกินเนื้อก็ไม่เกิด สรุปไม่มีต้นไม้ก็ไม่มีผลไม้ ทีนี้เรามาขยายผลของกรรมกันนิดหนึ่ง ผู้ที่ฆ่าสัตว์มักเป็นผู้มีโรคมาก ป่วยง่ายตายยาก ผู้ใดที่มักป่วยไม่ว่าจะหนักหรือออดๆ แอดๆ สันนิฐานได้เลยว่าเป็นกรรมจากการฆ่าสัตว์ ยกเว้น ป่วยตามฤดู อากาศเปลี่ยน ปวดเมื่อยทำงานหนัก เหล่านี้เป็นโรคของปัจจุบัน โรคกรรมส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรัง หรือโรคที่เป็นอาการหนักๆ
              แล้วจะกินอย่างไรดีหละ ก็ขอตอบว่ากินมันทั่วๆ ไปนี่แหละหิวกิน อยากกิน ชอบก็กิน ขออย่างเดียวอย่าไปให้เขาฆ่าให้ และอย่าไปฆ่าเขาเท่านี้พอ แต่ก่อนจะกินอะไรก็ต้องขออโหสิกรรมกันก่อนเพราะสัตว์บางตัวก่อนตายอาจอาฆาตแรง เราก็กล่าวไป สัตว์เพ สัตว์ตานี่แหละหรือจะพูดไปเป็นภาษาเราๆเลยก็ได้กล่าวขออโหสิตรงๆเลยก็ได้แล้วก็ว่าเรากินเพื่อให้ท่านได้บุญคือ เพื่อให้เรามีร่างกายแข็งแรง สุขภาพสมบูรณ์เพื่อไปทำบุญสร้างกุศล ฝึกจิตฝึกธรรม ให้ท่านทั้งหลายอย่าได้โกรธแค้น ห่วงใยในสังขาร ท่านทั้งหลายจงได้อนุโมทนากุศลผลบุญที่เราทั้งหลายได้สร้างได้กระทำมาทั้งหมดนี้ เพื่อเป็นปัจจัยให้พ้นทุกข์ได้ไปอยู่ยังภพภูมิที่ดี ที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไป ก็ว่าไปประมาณนี้นะ เมื่อสัตว์ทั้งหลายหรือเจ้ากรรมทั้งหลายได้อนุโมทนากับเราแล้ว เขาก็เป็นสุข เราก็เป็นสุขบุญเต็ม กุศลเต็ม โรคภัยก็ไม่ค่อยมาเบียดเบียน ทำการงานสิ่งใดก็จะสำเร็จได้โดยง่ายมีสิ่งศักดิ์คอยให้ความช่วยเหลือ สติก็ดี ทำสมาธิก็ง่าย ไม่ยากการทำบุญไม่ยากอย่างที่คิดเพียงแต่เราคิดไม่ถึงจึงไม่รู้ว่าทำบุญยังไงทำตอนไหนแล้วตอนตายจะคิดถึงบุญถึงกุศลได้อย่างไรเมื่อไม่รู้ ยมบาลถามก็ไม่รู้ ก็ลงนรกอย่างเดียว ฮ่ะ ๆ ไม่รอดแน่ ผมก็พยามแนะนำแต่บุญกุศลที่ทำได้ง่าย ๆ ก็ลอง ๆ อ่านเอาครับบทความต่าง ๆ ที่ผมลงไว้ เขาเรียกว่ามนุษยธรรม ธรรมที่มากับร่างกายมนุษย์ พระท่านจึงอนุญาติแต่มนุษย์เท่านั้นที่ถือบวชได้ ก็เพราะมีกำลังของกุศลธรรมตัวนี้ดูแล สัตว์อื่นภพภูมิอื่นถึงแม้นจะมีฤทธิ์ อำนาจ มีคุณธรรมขนาดไหนก็ไม่สามารถบวชได้ ท่านทั้งหลายก็จงคิดเอาเถิดเมื่อมีร่างกายอยู่จะใช้มันอย่างไร ทำมันอย่างไร ถ้าคราวหน้าเกิดใหม่ไม่ได้มนุษยธรรมมา ก็เจ๊ง เกิดเป็นหมูเป็นหมามันจะยุ่งกันใหญ่ ทีนี้ก็รู้กันแล้วนะครับกินอย่างไรให้ได้บุญ ต้องฉลาดในธรรมกันหน่อย บุญนะทำทุกวันอยู่แล้วไม่ต้องรอวันพระวันโกน ธรรมะง่ายนิดเดียว เป็นแงะ....
                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                        กลับ