เรือสุพรรณหงส์

เรือสุพรรณหงส์ เรือขบวนเสด็จพยุหยาตรา

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนี้มีมาแต่โบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยพัฒนามาจากการจัดกระบวนทัพเพื่อเคลื่อนพลทางน้ำ เมื่อว่างจากรบทัพจับศึกก็จะซักซ้อมการจัดกระบวนเรือเพื่อใช้ในพิธีสำคัญๆ เช่นอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน การแปรพระราชฐานเสด็จไปยังหัวเมือง การต้อนรับราชฑูตจากต่างประเทศ รวมทั้งพิธีพระบรมศพ  สำหรับเรือที่ร่วมกระบวนพิธีจะสลักลวดลาย ตกแต่งหัวเรือเป็นรูปสัตว์ พร้อมประดับด้วยธงทิว ส่วนทหารฝีพายก็จะแต่งกายสวยงาม พร้อมกับประโคมดนตรีเพื่อความสนุกสนาน ปัจจุบันมีการขับร้อง " กาพย์เห่เรือ " คู่กับการกระทุ้งเสา เพื่อให้จังหวะกับฝีพาย พระราชพิธี "ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค" เป็นสิ่งเชิดหน้าชูตา แสดงถึงอารยะธรรมของประเทศ ที่ผ่านมาพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต ได้สืบทอดราชประเพณีนี้มาช้านาน โดยได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบริ้วขบวน ซึ่งบางสมัยมีเรือที่ใช้ในกระบวนถึงร้อยกว่าลำ แต่ปัจจุบันมีจำนวน 52 ลำ โดยมีเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณเป็นลำล่าสุด  สำหรับที่เรียกว่า "เรือพระราชพิธี " นั้น จะเป็นเรือที่มีการตกแต่งและแกะสลักลวดลายสวยงาม ปัจจุบันนี้มีอยู่ 4 ลำ ประกอบด้วยเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ และเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ซึ่งเรือพระที่นั่งนารายณ์ฯ นี้เป็นเรือพระที่นั่งลำล่าสุดที่กองทัพเรือร่วมกับกรมศิลปากร และสำนักพระราชวัง สร้างถวายเนื่องในมหามงคลวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนามเรือพระที่นั่งต่อใหม่นี้ว่า ” เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9"

คำว่า "เรือพระราชพิธี" ประกอบไปด้วยเรือพระที่นั่ง 4 ลำ ดังนี้

1. เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

เป็นเรือพระที่นั่งกิ่งลำแรก ต่อขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 เรือพระที่นั่งลำ นี้บางครั้งมีผู้เรียกว่า เรือสุวรรณหงส์ เพราะในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีเรือพระที่นั่งชื่อ สุวรรณหงส์ ครั้นเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ผุ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ต่อใหม่ ประกอบพิธีลงน้ำเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 พระราชทานชื่อว่า เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ (ไม่มี “ ศรี ” ) และคงถือว่าเป็นเรือพระที่นั่งกิ่งตามเดิม ลำเรือภายนอกทาสีดำ ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 44.90 เมตร กว้าง 3.14 เมตร ลึก 0.90 เมตร กินน้ำลึก 0.41 เมตร กำลัง 3.50 เมตร ฝีพาย 50 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่ 1 คน
เรือพระที่นั่งกิ่ง หมายถึง เรือประเภทเรือขุดจากท่อนซุง ต่อหัวเรือยกสูงงอนขึ้น แกะสลักหัวเรือ ท้ายเรือด้วยศิลป ประติมากรรมที่งดงาม ได้ความคิดมาจาก "กิ่งดอกเลา" ซึ่งปักที่หัวเรือในสมัยกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ปัจจุบันเหลือเพียงสามลำเท่านั้น คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์

2. เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เป็นเรือพระที่นั่งบัลลังก์นาค 7 เศียร ลำแรก ต่อในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง ลำปัจจุบันต่อขึ้นใหม่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2457 ลำเรือภายนอกทาสีเขียว ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 42.95 เมตร กว้าง 2.95 เมตร ลึก 0.76 เมตร กินน้ำลึก 0.31 เมตร กำลัง 3.02 เมตร ฝีพาย 54 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่ 1 คน

3. เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือพระที่นั่งศรีต่อในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้อง เรือภายในทาสีแดง ยาว 45.40 เมตร กว้าง 3.15 เมตร ลึก 1.11 เมตร กินน้ำลึก 0.46 เมตร กำลัง 3.50 เมตร ฝีพาย 61 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่ 1 คน

4. เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งจัดสร้างขึ้นใหม่ใน รัชกาลปัจจุบัน มีโขนเรือเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ ซึ่งนำ ต้นแบบมาจากเรือนารายณ์ทรงสุบรรณลำเดิมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 นี้ กองทัพเรือ ร่วมกับ กรมศิลปากร และสำนักพระราชวัง ได้ดำเนินการจัดสร้าง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส พระราชพิธีในปีกาญจนาภิเษก การสร้างเรือพระที่นั่งลำใหม่ มีงานสร้างเรือตามวิธีการ ช่างต่อเรือยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ผสมกับเทคนิคต่อเรือสมัยใหม่ โขนเรือเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ จะมีขนาดใหญ่กว่าเดิม เล็กน้อย คือ ตัวเรือกว้าง 3.20 เมตร ยาว 44.30 เมตร กินน้ำลึก 1.10 เมตร น้ำหนัก 20 ตัน ใช้ฝีพาย 50 นาย เพื่อเป็นการแสดงความหมายสอดคล้อง ถึงวโรกาส 50 ปี แห่งการครองราชย์ของ พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน (เพื่อให้สอดคล้องกับวโรกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

ปัจจุบันเรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารคมี 22 ลำ ดังนี้

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙

เรือเอกไชยเหินหาว

เรือเอกไชยหลาวทอง

เรือพาลีรั้งทวีป

เรือสุครีพครองเมือง

เรืออสุรวายุภักษ์

เรืออสุรปักษี

เรือกระบี่ปราบเมืองมาร

เรือกระบี่ราญรอนราพณ์

เรือครุฑเหินเห็จ

เรือครุฑเตร็จไตรจักร

เรือเสือทยานชล

เรือเสือคำรณสินธุ์

เรืออีเหลือง

เรือทองขวานฟ้า

เรือทองบ้าบิ่น

เรือแตงโม

เรือดั้ง

เรือแซง

รูปแบบการจัดเรือขบวนเสด็จ


งานแกะสลักเรือสุพรรณหงส์

เป็นการแกะสลักไม้สักด้วยมือทุกลำ ฉัตรและเรือนซุ้มทำขึ้นอย่างปราณีตบรรจงตามแบบอย่างเรือจริง มีองค์ประกอบลวดลายละเอียดปราณีต เรามีครบทุกลำไม่ว่าจะเป็น เรือสุพรรณหงส์ เรือนารายทรงครุฑ เรืออนันตนาคราช เรือเอนกชาติภุชงค์ ฯ หรือเรือในขบวนพระราชพิธี มีขนาด 120-150-300 ซม. ขนาดอื่น เรือสั่งทำพิเศษ หรือแนวจินตนาการ  (กรุณาสั่งจองล่วงหน้า)
ปิดทอง เราใช้ทองคำแท้ในการปิด
ฝังพลอย เราใช้พลอยมาตรฐานในท้องตลาด สามารถระบุเกรดพลอยได้
สามารถนำออกต่างประเทศได้ ถ้าขนาด 120 ซม. เพคแล้วจะยาวประมาณ 100 ซม. กว้าง 15 ซม.
สอบถามได้ที่ 081-5574564 หรือ Email : arwoodkeeper@hotmail.com
                                                       


                                                                     เรือขนาด 120 ซม.



                                             

                                                                            กลับ