งานแกะสลัก
มี คำกล่าวว่า"ศิลปะบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรือง"ประเทศใด ยุคใด ที่ศิลปะมีความเจริญรุ่งเรืองแสดงว่ายุคนั้นผู้ปกครองมีความสามารถมาก บ้านเมืองสงบสุข ประชาชนอยู่ดีกินดี ศิลปินก็จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้มาก มีผู้ให้ความสนใจมาก ผู้เสพศิลปะก็คือ ผู้เข้าถึงจิตวิญญาณและดื่มด่ำในอารยธรรมความเจริญรุ่งเรือง
การแกะสลักเป็นศิลปะแขนงหนึ่งในช่างสิบหมู่ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของงานแกะสลักนั้นไม่สามารถสืบค้นได้ว่ามีการ เริ่มการแกะสลักเมื่อใด แต่พอจะประมาณได้ว่าเมื่อมนุษย์สมัยดึกดำบรรพ์เริ่มมีการวาดภาพ การใช้สี ต่อมาก็เริ่มมีการจัดวางก้อนหินให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ และก็เริ่มมีการกระเทาะหินเป็นรูปทรงเรขาคณิต พอนานเข้าก็เริ่มมีรูปทรงง่าย ๆ และพัฒนาขึ้นตามลำดับ มีการใช้วัสดุในการแกะหลากหลายมากขึ้นซึ่งการแกะสลักในแต่ละท้องถิ่นก็จะไม่ เหมือนกันแล้วแต่ค่านิยม ทัศนะคติของผู้สร้าง บางทีก็จะแกะสลักมาจากความเชื่อ ผี สาง เทวดา หรือเทพเจ้า สิ่งเหนือจินตนาการต่าง ๆ จนเกิดการหลอมรวมเข้ามาเป็นประเพณี วัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ๆ ปัจจุบันมีการแบ่งศิลปะตามยุค ตามถิ่นอาศัยเช่น เอเซีย ยุโรป ก็จะมีความแตกต่างกันไป งานแกะสลักของประเทศไทยมีความเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากหลายประเทศในเอเชีย และยุโรป ศิลปะของยุโรปจะเน้นความสมจริง แสดงให้ใกล้เคียงความจริง เช่น การแกะสลักรูปคน ต้องมีกล้ามเนื้อสมส่วนของคนจริง ดูแข็งแรง สำหรับศิลปะแบบไทย เราจะเน้นในด้านจิตนาการมากกว่าความสมจริง มีความอ่อนช้อย วิจิตร บรรจงมากกว่า อาทิเช่น การแกะสลักหญิงสาวมีปีก มีขาเป็นนก เป็นสัตว์ในนิยาย ป่าหินพาน ลักษณะแขนจะเรียวไม่มีข้อต่อ มีปีก มีหางเป็นลายกนก อ่อนช้อย ซึ่งจะหาไม่ได้ในแถบยุโรป
ศิลปะไทยสามารถแบ่งตามยุคสมัย ดังนี้
ศูนย์ กลางของอาณาจักรทวาราวดีของชนชาติมอญ ละว้า อยู่แถบ นครปฐม ราชบุรี อู่ทอง และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงหนือแถบ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี และขึ้นมาทางเหนือแถบ ลำพูน ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี คือ พระเกตุมาลา เป็นต่อมนูน และสั้น พระพักตร์แบนกว้าง พระหนุป้าน พระนาฏแคบ พระนาสิกป้านใหญ่ พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่
ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13 - 18
อาณาจักรศรีวิชัยอยู่ทางภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ชวาภาคกลาง และมีอาณาเขตมาถึงทางภาคใต้ของไทย มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุสมัยศรีวิชัยอยู่มากมายทั่วไป โดยเฉพาะที่เมืองไชยา จ.สุราษฎร์ธานี นิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์มากกว่าพระพุทธรูป เนื่องจากสร้างตามลัทธิมหายาน พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยมีลักษณะสำคัญ คือ พระวรกายอวบอ้วนได้ส่วนสัด พระโอษฐ์เล็กได้สัดส่วน พระพักตร์คล้ายพระพุทธรูปเชียงแสน
ศิลปะ ลพบุรีพบที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนในประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นของชนชาติขอม แต่เดิมเป็นศิลปะขอม แต่เมื่อชนชาติไทยเข้ามาครอบดินแดนแถบนี้ และมีการผสมผสานศิลปะขอมกับศิลปะไทย จึงเรียกว่า ศิลปะลพบุรี ลักษณะที่สำคัญของพระพุทธรูปแบบลพบุรีคือ พระพักตร์สั้นออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีพระเนตรโปน พระโอษฐ์แบะกว้าง พระเกตุมาลาทำเป็นต่อมพูน บางองค์เป็นแบบฝาชีครอบ พระนาสิกใหญ่ พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระกรรณยาวย้อยลงมาและมีกุณฑลประดับด้วยเสมอ
ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 16 - 21
ศิลปะล้านนา หรือ ศิลปะเชียงแสน อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย และมีลักษณะเก่าแก่มาก คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องของศิลปะทวาราวดีและลพบุรี ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย ศูนย์กลางของศิลปะล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน เรียกว่าอาณาจักรโยนก ต่อมาเมื่อ พญามังรายได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาก็อยู่ที่เมืองเชียงใหม่สืบต่อมาอีกเป็นเวลา นาน ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ซึ่งมักเรียกว่า แบบเชียงแสน คือ พระวรกายอวบอูม พระพักตร์อิ่ม ยิ้มสำรวม กระเกตุมาลาเป็นรูปต่อมกลม และดอกบัวตูม ไม่มีไรพระศก พระศกเป็นแบบก้นหอย พระขนงโก่งรับพระนาสิกงุ้มเล็กน้อยชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน พระอุระนูนดังราชสีห์ ท่านั่งขัดมาธิเพชร
ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 17 - 20
อาณาจักรสุโขทัย นับเป็นอาณาจักรแรกของคนไทย ศิลปะสุโขทัยจึงนับเป็นสกุลศิลปะแบบแรกของชนชาติไทย ที่ผ่านการคิดค้น สร้างสรรค์คลี่คลาย สังเคราะห์ในแผ่นดินที่เป็นปึกแผ่น มั่นคงจนได้รูปแบบที่งดงาม พระพุทธรูปสุโขทัยถือว่ามีความงามตามอุดมคติไทยอย่างแท้จริง ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสุโขทัย คือ พระวรกายโปร่ง เส้นรอบนอกโค้งงามได้จังหวะ พระพักตร์รูปไข่ยาวสมส่วน ยิ้มพองาม พระขนงโก่งรับกับพระนาสิกที่งุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์แย้มอิ่ม ดูสำรวม มีเมตตา พระเกตุมาลารูปเปลวเพลิง พระสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระศกแบบก้นหอย ไม่มีไรพระศก พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยมีความงดงามมาก ที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห ์ พระศาสดา พระพุทธไตรรัตนายก และ พระพุทธรูปปางลีลา นอกจากพระพุทธรูปแล้ว ในสมัยสุโขทัยยังมีงานประติมากรรมที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ เครื่องสังคโลก ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยที่มีลักษณะเฉพาะ มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เครื่องปั้นดินเผาสังคโลก เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ สีเขียวไข่กา สีน้ำตาล สีใส เขียนทับลายเขียนรูปต่าง ๆ มีผิวเคลือบแตกราย สังคโลกเป็นสินค้าออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัยที่ ส่งไปจำหน่ายนอกอาณาเขตจนถึงฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น
ศิลปะอู่ทอง พุทธศตวรรษที่ 17 - 20
อาณาจักรอู่ทอง เป็นอาณาจักรเก่าแก่ก่อนอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่าง ๆ ได้แก่ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี รวมทั้งสุโขทัย ดังนั้นรูปแบบศิลปะจึงได้รับอิทธิพลของสกุลช่างต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปอู่ทอง คือ พระวรกายดูสง่า พระพักตร์ขรึม ดูเป็นรูปเหลี่ยม คิ้วต่อกันไม่โก่งอย่างสุโขทัยหรือเชียงแสน พระศกนิยมทำเป็นแบบหนามขนุน มีไรพระศก สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายตัดตรงพระเกตุมาลาทำเป็นทรงแบบฝาชี รับอิทธิพลศิลปะลพบุรี แต่ยุคต่อมาเป็นแบบเปลวเพลิงตามแบบศิลปะสุโขทัย
ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 - 24
อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ และมีอายุยาวนานถึง 417 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 - 2310 ศิลปะอยุธยาที่เจริญรุ่งเรืองมีหลายแขนง ได้แก่ การประดับมุก การเขียนลายรดน้ำ ลวดลายปูนปั้น การแกะสลักไม้ และเครื่องปั้นดินเผาลายเบญจรงค์ ฯลฯ ศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาไม่ค่อยรุ่งเรืองนัก ไม่มีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัด ลักษณะทั่วไปจะเป็นการผสมผสานศิลปะแบบอื่น ๆ มีพระวรกายคล้ายกับพระพุทธรูปอู่ทอง พระพักตร์ยาวแบบสุโขทัย พระเกตุมาลาเป็นหยักแหลมสูงรูปเปลวเพลิง พระขนงโก่งแบบสุโขทัย สังฆาฏิใหญ่ปลายตัดตรง หรือสองแฉกแต่ไม่เป็นเขี้ยวตะขาบ แบบเชียงแสน หรือสุโขทัย ตอนหลังนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 25 - ปัจจุบัน
ศิลปะรัตนโกสินทร์ในตอนต้น เป็นการสืบทอดมาจากสกุลช่างอยุธยาไม่ว่าจะเป็นการเขียนลายรดน้ำ ลวดลายปูนปั้น การแกะสลักไม้ เครื่องเงิน เครื่องทอง การสร้างพระพุทธรูป ล้วนแต่สืบทอดความงามและวิธีการของศิลปะอยุธยาทั้งสิ้น ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการติดต่อกับชาวต่างชาติมากขึ้นโดยเฉพาะชาติตะวันตก ทำให้ลักษณะศิลปะตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย และมีอิทธิพลต่อศิลปะไทยในสมัยต่อมา หลังจากการเสด็จประพาสยุโรปทั้ง 2 ครั้งของ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้มีการนำเอาแบบอย่างของศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับศิลปะไทย ทำให้ศิลปะไทยแบบประเพณีซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นศิลปะไทยแบบร่วมสมัยในที่สุด ลักษณะของพระพุทธรูปเน้นความเหมือนจริงมากขึ้นเช่น พระศรีศากยทศพลญาณ ฯ พระประธานพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมเป็นพระพุทธรูปปางลีลาโดยการผสมผสานความงามแบบสุโขทัยเข้ากับ ความ เหมือนจริง เกิดเป็นศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์
ประเภทงานแกะสลักไทย
แบบภาพนูนต่ำ (Bas reliefe) หรือที่เรียกว่า ภาพหน้าจันทร์ คือ ภาพที่มองเห็นเฉพาะหน้าตรงเท่านั้น ลักษณะภาพจะนูนขึ้นมาเพียงเล็กน้อย การแกะสลักที่มีลักษณะนูนออกมาจากพื้นด้านหลังหรือพื้นผิวเดิม บ้างเล็กน้อย และจะแกะสลักลึกลงไปในพื้นผิววัสดุ เน้นลวดลายคลายการวาดภาพ แต่จะเป็นการแกะเข้าไปในผิวไม้ หรือ จะสูงกว่าผิวหน้าไม้ที่แกะเล็กน้อย เช่น ประตู หน้าต่าง วิหารวัด ต่าง ๆ
แบบภาพนูนสูง (Hight reliefe) จะเป็นการแกะสลักไม้ในลักษณะครึ่งตัว ให้สามารถเห็นได้เพียง 3 ด้าน
คือ ด้านหน้า และด้านข้างทั้ง 2 ข้าง นิยมแกะเป็นภาพติดผนัง
แบบภาพลอยตัว (Rounf reliefe) เป็นการแกะสลักที่ต้องใช้ความชำนาญมากกว่า ทั้ง 2 แบบที่กล่าวมาข้างต้น เพราะลักษณะการแกะเป็นแบบให้สามารถมองเห็นได้ทุกด้าน ต้องวางโครงสร้างให้สมดุลย์ เช่น การแกะสลักพระพุทธรูป ต้องวางโครงสร้างให้ได้สัดส่วน ใบหน้า แขน ขา ต้องตรงตามหลัก ตามแบบมีความอ่อนช้อย งดงาม ทั้งด้านหน้า หลัง ข้าง บนและล่าง
ขั้นตอนการแกะสลักไม้
2. ออกแบบลวดลายลงบนกระดาษแข็งเพื่อใช้เป็นแบบทาบ
3. ใช้แบบทาบแล้วลอกลายลงบนแผ่นไม้ หรือ วาดภาพลงบนเนื้อไม้ที่ใช้แกะ
4. ใช้เลื่อยเลื่อยไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออกเสียก่อนเพื่อเป็นการ ขึ้นรูปหรือโครงลาย
5. ใช้สิ่วขนาดใหญ่สกัดลวดลาย เป็นการคัดลายให้ทราบว่า ส่วนใดเป็นลาย ส่วนใดเป็นพื้น
6. ทำการขุดพื้น โดยขุดเพียงตื้นๆก่อนแล้วตรวดดูความถูกต้องแล้วจึงลงมือขุดพื้นให้ลึกตามความต้องการ
7. แกะตัวลายหรือโกลนลายด้วยการใช้สิ่วฉากปาดตัวลายโดยให้ตั้งฉากด้านหนึ่ง เอียงด้านหนึ่ง เป็นการคัดลายให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้น
8. เก็บรายละเอียดของลวดลายให้เรียบร้อย สมบูรณ์ ด้วยสิ่วแบบต่างๆเช่น สิ่วเล็บมือ สิ่วขมวด
9. ขัดกระดาษทรายและทาดินสอพองหรือฝุ่นผงขี้เลื่อยเพื่ออุดร่องเนื้อไม้ ตกแต่งงานให้ดูสวยงาม
10.ทาน้ำมันเคลือบเนื้อไม้ หรือทาน้ำมันชักเงา ทาสีไม้ หรือลงรักปิดทอง