วิธีการฝึกสมาธิสำหรับคน เรื่องมาก คิดมาก

บางคนและหลาย ๆ คนทำสมาธิแล้วไม่มั่นคง นั่งได้ไม่นาน นั่งไปฟุ้งไปทำนองนี้ ท่านจะหมดปัญหากวนใจเหล่านี้เมื่อท่านใช้แอดโดมิไนเซอร์ ซาร่าและจ๊อตจะมาบอกวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ซึ่งนักปฏิบัติทั้งหลายคงจะพบเจอกันมาบ้างแล้ว สำหรับผู้ที่ปฏิบัติใหม่ ๆ รับรองเป็นแน่นอนครับ เพราะนี่คือด่านแรก ด่านสำคัญ ทำไมผมถึงพูดอย่างนี้ก็เพราะใจเรานั้น ไม่เคยหยุดนิ่ง มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาเมื่อเราต้องการทำสมาธิคือให้ใจหยุด จึงเป็นไปได้ยาก เนื่องมาจากความเคยชินของใจเรานั่นเอง  ปรมาจารย์ทั้งหลายจึงได้คิดค้นหาวิธีเพื่อให้ใจเราหยุดเป็นสมาธิก่อเกิดเป็นวิชาต่าง ๆ มากมาย ให้เราได้ทำการศึกษาปฏิบัติจนมาถึงทุกวันนี้ แต่ว่าในการสอนนั้นก็จะเป็นแบบฉบับเฉพาะบุคคลที่มีอารมณ์ใจใกล้เคียงกันกับอาจารย์สายวิชานั้น ๆ หรือที่เค้าเรียกกันว่ามีความสัมพันธ์กันมาแต่อดีตชาติ เคยฝึก เคยได้มาแล้วระดับหนึ่งก็กลับมาต่อวิชาจึงทำให้ผู้นั้นฝึกวิชาได้ง่าย ทีนี้ก็เป็นปัญหาสำหรับพวกที่ไปกันกับเขา เขาได้เราไม่ได้มันสำคัญตรงนี้ อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย อดีตเราก็ไม่รู้ อนาคตก็ไม่เห็น เขาก็ฝึกเราก็ฝึกเหตุไฉนไม่ได้ดังเขา วันนี้จะมาเฉลยกันให้หมดเปลือก

อันดับแรกเรามาทำความเข้าใจกันก่อน การปฏิบัติวิชาต่าง ๆ ที่มีในโลกนี้นั้นทุกคนสามารถฝึกได้ ฝนได้ พระพุทธเจ้าท่านก็สอนวิชาสำหรับปฏิบัติแยกเป็นหมวดต่าง ๆ 40 หมวด แยกเป็น 2 สาย สมาถะ กับ วิปัสสนา และก็ยังมีอาจารย์ท่านแยกแนวทางการปฏิบัติมาอีกมากมาย เอาหละก็สาธยายมาพอสมควร แล้วเราอยู่หมวดไหน สายไหน พอรู้บ้างหรือยัง ถ้ายังเราก็ต้องมานับหนึ่งใหม่
สมาถะ ก็แยกได้เป็นสายใหญ่อีก 2 สาย คือ สายจับกับสายปล่อย
สายจับ ก็จะเป็นพวกเน้นการบังคับใจให้จดจ่อหรือเรียกว่า กสิน เป็นหลัก
สายปล่อย ก็จะเป็นลักษณะการปล่อยอารมณ์ไม่เน้นการบังคับควบคุม เน้นการดูตาม รู้สึกตาม
ทั้งหมดจะต่างกันในตอนเริ่มต้น ทั้งสมถะและวิปัสสนา เมื่อทำไปได้สักระยะก็จะรวมกัน เรียกว่าขึ้นต้นด้วยสมถะ สมถะก็จะเป็นตัวนำ ขึ้นต้นด้วยวิปัสสนา วิปัสสนาก็จะเป็นตัวนำ ส่วนการนำไปใช้นั้นเมื่อทำถึงขั้นก็เหมือนกันหมดเพราะสมถะกับวิปัสสนานั้นไม่ได้แยกจากกันต่างกันตรงการเริ่มต้น ถึงเราจะรู้หรือไม่รู้ว่าเราทำสมถะอยู่หรือทำวิปัสสนาอยู่ มันก็เป็นของมันอย่างนั้น เมื่อจิตเราระเอียดขึ้นเราก็สามารถแยกแยะได้
ส่วนวิปัสสนานั้นคือการใช้ปัญญาญาณในการพิจารณาธรรมที่มี เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป พิจารณาธาตุกาย ธาตุธรรม ร่างกาย สังขาร วิณญาณ ในการพิจารณาวิปัสสนานี้เหมาะเริ่มต้นแก่ผู้ที่คิดมาก ปัญญาไว ควรเริ่มด้วยวิปัสสนาแล้วเอาสมถะเป็นตัวดันประกอบให้จิตเรา ปัญญาเราแตกฉานแยบยลขึ้น  วิธีการง่ายๆ ก็คือ อันดับแรกเราต้องรู้ตัวเราก่อนว่าใจเราเป็นแบบไหน คิดมาก สมองไว ปัญญาไว สอดรู้สอดเห็น จุกจิก อยู่ไม่นิ่งไม่สงบ ถ้าคุณทั้งหลายอยู่่ในหมวดที่กล่าวมานี้ก็ตามผมมาผมจะแนะนำแนวการปฏิบัติแบบตามใจฉันให้ (ผมขอเรียกว่า "พวกวุ่นวาย"ละกันจะได้ง่ายแก่การเข้าใจ)

แนวการปฏิบัติของพวกวุ่นวายนั้นโดยสันดานคือไม่นิ่งไม่สงบ คิดเก่ง คิดไว สมองสั่งการตลอดเวลา ให้ใช้วิธีการ สงบกายแต่ปล่อยใจก่อนในขั้นต้น เอ๊ะยังงัย ก็คือ ให้ร่างกายนิ่งแต่ใจช่างหัวมัน มันจะคิด จะค้น จะเที่ยวท่องก็ปล่อยตามสบายไม่ต้องสนใจ เอาแค่กายสงบเป็นพอ เอากายสงบจนเป็นที่พอใจเราหรือเหนื่อยเมื่อยก็ถือว่าใช้ได้เป็นการเริ่มต้นที่ดี ต่อมาเมื่อกายสงบแล้วอยากให้ใจสงบบ้างจะทำอย่างไรก็ขอบอกว่าทำเหมือนเดิมแต่เพิ่มเติมนิดหน่อยคือ เอาของชอบมาล่อ ก็เช่นเราชอบดูหนัง ดูละคร ก็ดูไปแต่ว่ากายต้องนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว ถ้าเอาแบบซอร์ฟๆ ก็เช่น ละครมี 4 ตอน คั่นด้วยโฆษณา ตอนละครมาเราก็นั่งดู นอนดูนิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว พอจบตอนโฆษณามาก็ขยับ พอละครมาก็นิ่งอีกทำอย่างนี้จนละครจบ ตอนนึงก็ราว 10 นาทีได้ ก็นับว่าได้ตั้ง 40 นาทีในการฝึกสมาธิ หรือเพิ่มมาอีกนิดดูหนังจบทั้งเรื่องถึงค่อยขยับก็ได้  เอาที่ทำได้ทำไหวนะไม่ต้องไปเรียนแบบใครของอย่างนี้มันตัวใครตัวมันของใครของมันเอากำลังใจ กำลังกายของเราเป็นที่ตั้งได้เท่าไรเท่านั้นอย่างนี้ถึงจะสำเร็จง่าย ผู้สำเร็จธรรมกับผู้สำเร็จสมาธินี่ก็ไม่เหมือนกันนะ ผู้สำเร็จธรรมคือผู้ที่เข้าใจในหลักธรรม ความจริง ทั้งหลาย ส่วนผู้สำเร็จสมาธินั้นคือผู้ที่เข้าถึงความสงบ แต่ผู้เข้าถึงธรรมขั้นสูงก็ต้องมีสมาธิขั้นสูงประกอบด้วย
มาคุยเรื่องของเราต่อดีกว่า ทีนี้เมื่อเราทำกายสงบมาพอสมควรแล้วเราก็อยากให้จิตสงบด้วยนี่จะทำยังงัย ก็แนะนำเหมือนเดิมครับแต่เพิ่มอะไรอีกสักเล็กน้อย คือ เราดูหนัง ละคร กายเราสงบแล้วเราก็เอาจิตมาไว้กับกาย (จิตก็คือความรู้สึกนึกคิด) ให้รู้สึกอยู่กับกาย ตาก็ดูหูก็ฟังไปตามปกติแต่ให้รู้สึกไว้กับร่างกายแค่นี้แหละครับฝึกกันง่ายๆ สำหรับพวกวุ่นวาย ผลที่ได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่าวิธีอื่นๆ แต่ดีตรงที่มันตรงกะใจเราไม่อึดอัดไม่เครียด ไม่ต้องกังวล ทำให้เรารู้สึกว่าการปฏิบัติธรรม การทำสมาธิเป็นเรื่องง่าย มีความสนุกในธรรม ถ้าทำต่อเนื่องก็จะมีแต่ความก้าวหน้าแล้วคุณจะเห็นผลด้วยตัวคุณเอง